เมนู

อุปกิเลส การตั้งมั่น การประชุม การรวบรวมจิตเป็นไปชั่วขณะ ชื่อว่า ขณิก-
สโมธาน
เพราะฉะนั้น จึงมีความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ. ท่านอธิบายไว้
ว่า อุปกิเลสทั้งหลายเมื่อเกิด ย่อมเกิดด้วยการเกี่ยวเนื่องกันชั่วขณะ ด้วยการ
สืบต่อกันมาชั่วขณะ คือ ไม่เกิดด้วยอำนาจแห่งขณะจิตดวงหนึ่ง.
จบอรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ

3. อรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ


ปฐมฉักกะ (ฉักกะที่1)


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสาสาทิมชฺฌ-
ปริโยสานํ
เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจเข้า คือ ปลายจมูก หรือ
นิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็น
ที่สุด. เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม
หายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ใน
อารมณ์เดียว.
บทว่า ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของ
ลมหายใจออก คือ สะดือเป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็น
ท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอกเป็นที่สุด. ในที่นี้พึง
ทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ตณฺหาจริยา ความในใจ คือ
ความปรารถนาลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา ความว่า การกำหนดว่า
กรรมฐานเนื่องด้วยลมจมูกแล้วพอใจ คือปรารถนาลมหายใจเข้าอันหยาบและ
หยาบ ความเป็นไปด้วยตัณหา. เมื่อมีความเป็นไปแห่งตัณหา ชื่อว่า เป็น
อันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว.
บทว่า ปสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ความปรารถนาความพอใจ
ลมหายใจออก ความว่า ความพอใจคือความปรารถนาลมหายใจออก ซึ่งเป็น
ไปก่อนลมหายใจเข้า. บทที่เหลือพึงประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า
อสฺสาเสนาภิตุนฺนสฺส แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ความว่า เมื่อ
ลมหายใจเข้ายาวเกินไป หรือสั้นเกินไป ถูกลมหายใจเข้าทำลายเบียดเบียน
เพราะมีความลำบากแห่งกายและจิตอันมีลมหายใจเข้าเป็นมูล.
บทว่า ปสฺสาสปฏิลาเภ มุจฺฉนา ความหลงในการได้ลมหายใจ
ออก คือเพราะถูกลมหายใจเข้าบีบคั้น ผู้มีความสำคัญในความพอใจในลม
หายใจออก ปรารถนาลมหายใจออก ยินดีในการได้ลมหายใจออกนั้น. แม้ใน
ลมหายใจออกเป็นมูลก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว เพื่อพรรณนาตามความ
ดังที่ได้กล่าวแล้วดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุคจฺฉนา คือไปตาม. บทว่า สติ คือสติอันเป็นเหตุ
ฟุ้งซ่านในภายในและภายนอก. ชื่อว่า วิกฺเขโป. เพราะจิตฟุ้งซ่านด้วยลมหาย-
ใจนั้น. ความฟุ้งซ่านในภายใน ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิกเขโป. ความปรารถนา
ความฟุ้งซ่านในภายในนั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิเขปากงฺขณา ท่านอธิบายว่า
ความปรารถนาลมหายใจเข้าอันฟุ้งซ่านในภายใน ด้วยการไม่มีใจชอบ. พึง

ทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยหิ
คือด้วยอุปกิเลสเหล่าใด. บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่าน
ถึงความฟุ้งซ่าน.
บทว่า โน เจ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไป
ในอารมณ์อันเป็นอัสสาสปัสสาสะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก. พึง
ทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า วิโมกฺขํ
อปฺปชานนฺตา
ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อัน
เป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก
อย่างนี้. บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณ
ที่ประจักษ์แก่ตน เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่านกล่าว ปรปตฺติยา.
ความอย่างเดียวกัน.
จบปฐมฉักกะ

ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ 2)


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า นิมิตฺตํ ที่สัมผัส
แห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสปัสสาสะกระทบดั้งจมูกของผู้
มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึง
นิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-
ใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่ง
นั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่าง
เดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภาย